เคยไหมวาด illustration เท่าไหร่ก็ไม่สวย แก้ยังไงก็ไม่ขึ้น ทำเพิ่มยังไง สีจะใส่ตรงไหน วันนี้เรามี 4 หลักมาแนะนำให้กันให้งานดีและสวยขึ้น
เกริ่นก่อนเลยตอนนี้เราจะมาสร้างกระบวนการคิด illustration ว่าจะทำอย่างไรให้งานดี เคยสงสัยไหมว่าทำไมงานของเราถึงยังดีไม่พอแต่ไม่รู้จะใส่อะไร ส่งให้คนอื่นดู แต่เรายังรู้สึกว่าขาดแต่คิดไม่ออก
ตอนนี้ลองใหม่ ลองปรับความเข้าใจและสร้างผลงานไปพร้อมกับผมดูนะครับ
1. Concept และ Theme
ช่วงคิดไอเดียว่าจะสร้างอะไร จะทำงานแบบไหน ลองสร้างคอนเซ็ปต์สิ่งที่เราต้องการดู หาแบบง่ายๆ ที่เราอยากทำ อย่างผมตอนนี้อยากสร้างแนวธรรมชาติและค่อนข้างเกินความเป็นจริง ลองหาสีองค์ประกอบมาเป็น Ref
ตัวผมเองจะลองวาดคร่าวๆก่อนว่าอารมณ์จะประมาณไหน วางองค์ประกอบไว้ตรงไหน อะไรเป็นจุดเด่น เราไม่จำเป็นต้องวาดในกระดาษสวยก่อนก็ได้ เพราะตัวเราเองที่จะต้องใช้เวลาในการทำต่อในโปรแกรม
ภาพสเก็ตช์ในกระดาษ
ถ้าคิดว่าดีแล้วก็ไปลงในโปรแกรมกันเลย
ภาพในโปรแกรม illustrator
ตอนนี้ผมวาดทีละชิ้นส่วนของงานหลักๆตามที่สเก็ตช์ไว้และใช้ธีม Low poly ให้งานดูคล้ายงานสามมิติ
TIPS : หาเรฟแนวๆใน Pinterest และ Dribbble และลองวาดคร่าวๆดู การหาเรฟที่ดีนั้นไม่ตายตัว ลองคิดให้ต่างดูว่าสามารถแก้ไขหรือเพิ่มเติมในสิ่งที่มีอยู่มั้ย จะได้อะไรที่ดีกว่างานที่มีอยู่
2. การควบคุมปริมาณสีในงาน
ถ้าเราไม่คุมสีในงานจะทำให้งานดูมั่วและเละเทะ ดังนั้นเราจึงควรคุมสี ให้งานดูเหมือนผ่านการออกแบบมาแล้ว
(ภาพงานที่ไม่ได้คุมสี)
การใช้สีที่ดีจะนำมาซึ่งงานที่ดี แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราจะใช้สีอะไร เราควรจับคู่สียังไงดี ? เราก็มีวิธีที่ทำให้กำหนดสีได้เร็วๆกัน
กำหนดสีอย่างรวดเร็วด้วย Adobe Color
เราเลยใช้เว็บ Adobe color ช่วยให้เราสามารถเลือกสีที่เข้ากันได้ดี โดยเว็บนี้จะมี Palette สีที่หลากหลาย สามารถเปรียบเทียบได้ทันที
ทำให้เราเลือกสีที่ต้องการได้เร็วขึ้น
( ภาพหน้าตาของ เว็บ Adobe Color (Kuler) )
โดยที่ Adobe color นั่นจะมีสีให้เราเลือกหลายสี หลายอารมณ์ ลองเลือกสีที่คิดว่าตรงกับคอนเซปของงาน สีที่มีหลายระดับจะทำให้งานมีภาพรวมที่ดีขึ้น
หลังจากเลือกสีแล้ว กำหนดสีแล้วว่าจะใช้อะไร แต่เดี๋ยวก่อน แล้วเราจะควบคุมปริมาณสียังไงล่ะ จะคุมยังไงให้งานมีภาพรวมที่เหมาะสมดี
มาเลยลองมาควบคุมปริมาณของสีด้วยการใช้หลักการกัน !
การคุมปริมาณของสีโดยใช้ Golden ratio
การเลือกวิธีการคุมปริมาณสีแบบ Golden ratio นั้น เป็นการใช้สีแบบกำหนดภาพรวมของงานว่า สีในระดับไหนจะคุมในส่วนใด
เช่นในภาพนี้สีหลักจะเป็นสีที่ใหญ่กว่าก็คือสีแดง
โดยหลักการใช้สีของ Golden ratio นั้นจะมีภาพออกมาในลักษณะแบบนี้
Primary – สีที่เน้นเกือบ 70% ของทั้งภาพ โทนค่อนไปทางกลางๆ ไม่โดดเด่น
Secondary – สีที่เป็นส่วนทำให้ภาพมีมิติมากขึ้น มี 25%
Accent – สีที่เน้นเฉพาะจุดทำให้เกิดจุดสนใจ 5%
( สีที่ลงไปที่งานจะไม่ได้มีปริมาณตามที่เขียนไว้เป๊ะๆ เพียงแต่เราจะมีตารางสีไว้เพื่อดูเป็นแนวทางว่าสีไหนต้องเยอะกว่าสีไหนในปริมาณเท่าไร)
ลองคิดสีแล้วนำมาใส่กันดู
สีของผมที่จะเอาไปใช้ในงานมีประมาณนี้
น้ำเงินเป็น Primary ฟ้าอ่อน Secondary สีชมพู Accent สีขาวเป็นพื้นรอง
สีที่ลงไปที่งานจะไม่ได้มีปริมาณตามที่เขียนไว้เป๊ะๆ เพียงแต่เราจะมีตารางสีไว้เพื่อดูเป็นแนวทางว่าสีไหนต้องเยอะกว่าสีไหนในปริมาณเท่าไรจะทำให้งานไม่หลุดไปจากภาพรวมครับ
หลังจากได้หลักการคุมสีแล้วผมได้วางสีไว้ทุกจุดของงานให้มีมิติโดยการใช้ Ratio ทั้งในปลาวาฬ และตัวเพชรให้มีสัดส่วนพอๆกัน และยังคิดถึงสัดส่วนของสีตัวปลาวาฬว่าจะมีสีชมพูตรงช่วงไหน ระยะความไกลของปลาวาฬก็ทำให้สีฟ้าอ่อนๆให้ดูไกล
TIPS : การเลือกสียิ่งเลือกสีมากขึ้นก็มีการคุมสีที่มากขึ้น ในระดับเริ่มต้นควรใช้สีไม่เยอะเกินไป จะทำให้ออกแบบภาพได้ง่ายกว่าใช้หลายสี
หลังจากที่เราลองใส่สีและกำหนดปริมาณของสีแล้ว
3. องค์ประกอบที่สำคัญทำให้เกิดความสนใจ
กำหนดจุดสนใจหลักของงาน
หลังจากร่างภาพลงใน vector แล้วให้เรานำของที่อยากวางให้เป็นจุดสนใจไปวางอยู่ในตำแหน่งของ Rule of Thirds
การวางของใน Rule of Thirds จะช่วยให้งานออกมาดูลงตัวและ Balance แบบนี้
ภาพการจัดวางแบบ The Rule of Thirds
ด้วยเทคนิคนี้จะทำให้เกิดความน่าสนใจ ทำให้มีจุดเด่นมากขึ้น
TIPS : อาจจะเพิ่มความน่าสนใจขึ้นไปอีกขั้นด้วยการใช้ Golden Ratio เพื่อเพิ่มความสนใจผนวกจัดหลายองค์ประกอบยิ่งวางเท่าไหร่ยิ่งทำให้เกิดความน่าสนใจได้มาก
การวางของซ้ำๆทำให้งานดีขึ้น
ลองวางvectorที่เหมือนๆกันในลักษณะที่ต่างกันดู โดยในภาพจะใช้องค์ประกอบที่เล็กลงมาจากจุดหลักของงานให้ภาพรวมดูมีรายละเอียด
หลังจากลองลงสีที่ภาพในขั้นแรกแล้วพบว่างานยังดูธรรมดา เลยลองใส่อย่างอื่นเพิ่มเติมให้มีความน่าสนใจมากขึ้น
สำหรับผมได้สร้างเงาของฟองน้ำในรูปแบบสี่เหลี่ยมที่ตัดไปกับแถบวงกลม และลองนำไปใส่ไว้ในงาน
เทคนิคการวางของซ้ำลงในงานโดยใช้วัตถุประกอบ
ของเล็กๆที่มีอยู่ในงานจะทำให้ภาพรวมมีเนื้องานมากขึ้น ไม่โล่ง เพิ่มความน่าสนใจลงไปในงานมากขึ้น
4. รายละเอียดเล็กๆน้อยๆก็สำคัญ
ตอนนี้ทุกคนอาจจะคิดว่างานเสร็จแล้ว ส่งได้เลย แต่เดี๋ยวก่อน ลองเช็ครายละเอียดของงาน หรือลองเพิ่มความน่าสนใจเข้าไปดู
บางทีจะมีข้อผิดพลาดเหมือนเส้นไม่ตรงหรือบางอย่างที่ยังเก็บไม่ละเอียดอยู่ เช่นสีผิด ไม่ครบในบางจุด
ก็ควรเพิ่มเติมให้เต็มที่ ตรวจงานให้เรียบร้อยก่อนส่งงานให้ลูกค้านะครับ
และถ้าเราคิดว่างานยังแห้งๆ ไม่มีอะไรดึงดูด ลองเพิ่มรายละเอียดของสิ่งของนั้นดู จะทำให้งานมีรายละเอียดมากขึ้น
( ภาพการเก็บรายละเอียดในงาน )
สำหรับผมแล้วเราเก็บขอบของตัวคริสตัลที่ยังซ้อนกันอยู่ ให้งานสะอาดไม่มีขอบรบกวนเลยเก็บขอบให้เรียบร้อย
เพิ่มเติมแสงสะท้อนให้งานเด่นมากขึ้น มีมิติของงานมากขึ้น ทำให้ภาพมีความสวยงามขึ้น
หลังจากงานเสร็จนั้นก็ลองนั่งดูและตรวจงานก่อนว่าเรียบร้อยดีพอหรือยัง บางส่วนยังมีรายละเอียดที่แก้นิดหน่อยก็ควรแก้ ทำให้งานสะอาดและดูใส่ใจกับงาน
เรียบร้อยเป็นอันเสร็จงาน !
คำแนะนำเพิ่มเติม
การทำ illustration ให้สวยควรหมั่นฝึกฝนเยอะๆ ไม่จำกัดว่าต้องเป็นอะไร ลองอะไรที่แปลกใหม่จะได้ผลลัพธ์และความเข้าใจมากขึ้น
แล้วพบกันกับบทความถัดไปจากฝ่ายดีไซน์จ้า