Scroll ลง เพื่อดูบทความ
เบื้องหลังเชิง Technical ของระบบรายงานผลเลือกตั้งร่วมกับ Workpoint News
โดย PanJ
การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 24 มีนาคม ที่ผ่านมาหลาย ๆ คนน่าจะเคยได้ดูการรายงานผลแบบ Real-time ของ Workpoint News ที่เว็บ https://vote.workpointnews.com ซึ่งจัดทำโดยทีม Cleverse ของเรา บทความนี้ จะมาเล่าถึ ...
ไขปริศนา ความท้าทายต่าง ๆ ในการก้าวไปสู่ตำแหน่ง CTO
โดย PanJ
ในสายอาชีพ programmer/developer ตำแหน่งที่คนส่วนใหญ่คิดว่าสูงที่สุดแล้วน่าจะหนีไม่พ้น Chief Technology Officer หรือ CTO ซึ่งมีชื่อเรียกภาษาไทยเก๋ ๆ ว่าประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายเทคโนโลยี เอาจริง ๆ แล ...
Solving BigData with BigQuery (3/3) — ใช้จริง
โดย SARIN
บทความนี้จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับ Google BigQuery: Serverless Data Warehouse จาก Google ครับ บทความนี้เป็นเนื้อหาพาร์ทสุดท้ายจาก ซีรีส์แนะนำ Google BigQuery ของ Cleverse โดยบทความนี้จะเน้นไปที่แนวทางต่างๆ ...
Solving BigData with BigQuery (2/3) — ลองเล่น
โดย SARIN
คุณมีปัญหากับการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ใช่ไหม? — ลองมาใช้ BigQuery ดูสิ 0) เกริ่นนำ หากคุณเป็นคนที่ทำงานในสายงาน Data Science หรือใกล้เคียง คุณอาจจะเคยได้ยินคนพูดถึง BigQuery มาบ้าง สรุปแบบสั้นๆเลยคือ ...
Solving BigData with BigQuery (1/3) — บทนำ
โดย SARIN
หลายๆคนอาจจะมองว่าการจัดการ Big Data เป็นเรื่องลำบาก — ตั้งแต่การวางแผนติดตั้งระบบ การนำข้อมูลเข้า จนถึงการ Query ข้อมูลแต่ละครั้งซึ่งทำได้ยากและใช้เวลานาน แถมพอใช้งานจริงก็ต้องคอยดูแลอีก วันนี้บล็อกน ...
ของโคตรดี! เมื่อแทนที่ GraphQL Backend ด้วย Graphcool!
โดย ชิน
สำหรับท่านที่ไม่เคยใช้ GraphQL มาก่อน น่าจะเคยใช้ชีวิตร่วมกับ REST มาก่อน ซึ่งตัว REST จะมีความต่างที่ชัดเจนจาก GraphQL คือ REST เราต้องกำหนด endpoint เต็มไปหมด ถ้า model เปลี่ยนไปเรื่อยๆต้องมาแก้ทีละ ...
ENGINEERING
DESIGN
CULTURE
Cleverse, a venture builder, with people who have fun building the future. If you also consider building the future a fun and meaningful purpose — let’s find a way we can work together.
121/75 RS TOWER 24th Floor
Ratchadaphisek Road
Dindaeng Bangkok 10400
Thailand
07.Feb.2018
โดย Kittichai

Developer/Designer ควรมี flexible working hour หรือไม่?

Scroll down

ขอออกตัวว่า ผมก็เป็น Developer มาก่อน และก็เป็นคนไม่ชอบตื่นเช้า และหัวแล่นในเวลาแปลกๆ จึงมีความเห็นใจคนที่อยากทำงานแบบ flexible working hour

การทำงานแบบ Flexible working hour เริ่มเป็นที่นิยมในบริษัทรุ่นใหม่ ๆ แบบ Tech Startup ซึ่งมักใช้เป็นจุดขายให้กับ Developer/Designer – ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะเป็นเรื่องยากมากที่จะทำให้ Developer/Designer ทำงานเป็นเวลา

นั่นทำให้ผมเริ่มเห็นกระแสของเด็กจบใหม่ใน 2-3 ปีที่ผ่านมา ที่เริ่มถามถึงเรื่องนี้ ประหนึ่งว่ามันเป็นสิ่งจำเป็น เป็นสิ่งที่บริษัท cool ๆ ต้องมี

เราควรทำให้ทุกคนมาตรงเวลาหรือไม่?

คำถามที่สำคัญกว่า คือ เราควรทำให้คนมาทำงานตามเวลาหรือไม่?

ผมอยากแชร์ความคิดในหมวกบริษัทก่อน ว่า ผมคำนึงถึงเรื่องอะไรบ้างเมื่อกำหนดเวลาเข้างาน

Photo by Christopher Campbell on Unsplash

ประสิทธิภาพของสมอง ไม่ได้สั่งได้ตามเวลา

ผมยังคงอ่านเรื่อง brain hack หรือ supplement ต่าง ๆ ที่ช่วยให้สมองทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นอยู่เรื่อย ๆ (สำหรับปี 2017 — ขอแนะนำ The Net and The Butterfly กับ Smart Drug Smarts — อันหลังนี่ hard core มาก กรุณาทำการบ้านก่อนทำตาม)

เรามีความเชื่อว่ามีคนที่ทำงานได้ดีในตอนกลางวัน กับคนที่ทำงานได้ดีในตอนกลางคืน

ความรู้บอกเราว่า ประสิทธิภาพของสมองถูก drive ด้วยปัจจัยต่าง ๆ มากมาย ทั้งระดับ hormone การกิน การนอน อารมณ์ เสียง อุณหภูมิ

ในฐานะบริษัท หากเราคาดหวังว่าคนทำงานให้เราที่ x ชั่วโมงต่อเดือน — เราย่อมอยากได้ x ชั่วโมงที่เขาทำงานได้ดีที่สุด

การที่กำหนดเวลาเข้าออกงานที่ตายตัว ย่อมแปลว่า เรามีโอกาสที่ได้ช่วงเวลาที่คนทำงานหัวไม่แล่น

ในฐานะบริษัท — เราอยากเก็บตกช่วงเวลาของคนที่ไม่ได้ทำงาน routine ในจังหวะที่ prime ที่สุด

นั่นคือที่มาของความเชื่อเรื่อง flexible working hour ที่กลายเป็นจุดขายของ Startup และบริษัทรุ่นใหม่ ๆ จำนวนมากในขณะนี้

ถ้าเหตุผลมีแค่นี้ เราคงจบเรื่องนี้ได้โดยสรุปว่า Flexible Working Hour นี่ละคือสิ่งที่ควรจะเป็น

…อย่างไรก็ดี…

คุณไม่ได้ทำงานคนเดียว

Photo by Josh Calabrese on Unsplash

ความรับผิดชอบต่อทีม

งานบางอย่างทำ remote ไม่ได้

งานบางอย่างมีปัจจัยภายนอก ที่ทำให้เราต้องเจอกันในเวลาที่เป็นปกติ

งานบางอย่างเราต้องนัดเวลากับคนทั้งทีม ในเวลาที่ทุกคนสะดวก — ถ้าทีมของคุณมีคนที่มีครอบครัว ต้องตื่นเช้าไปส่งลูกเรียน เราก็ต้องนึกถึงเวลาที่สะดวกสำหรับคนเหล่านี้ด้วย

หากทุกคนทำงานเมื่อไรก็ได้ การจัดเวลาเพื่อมาทำงานข้างต้นจะกลายเป็น overhead ที่สูง — การมีเวลาเข้างานที่ชัดเจนจึงมีข้อดีตรงที่ทุกคนคาดหวังได้ว่า ณ ช่วงเวลานี้ ๆ คนทุกคนจะ “available” ที่จะทำงาน

Photo by Igor Ovsyannykov on Unsplash

การเจอกันยังเป็นเรื่องจำเป็น

เราอยู่ในยุคที่คนอยากทำงาน Remote กันมากขึ้นเรื่อย ๆ

แต่ผมยังเชื่อว่าการพบปะกันแบบ Physical ยังเป็นสิ่งจำเป็น

ผมอยากได้ทีมที่ไม่ได้แค่อยากทำงานเพียงเพื่อให้ได้ผลงาน แต่ทำเพราะคนในทีมเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเรา

นอกจากนี้ การเจอกัน นั่งคุยกัน กินข้าว จิบกาแฟ วาดรูปในกระดาษ บางครั้งมันก่อให้เกิดไอเดียใหม่ ๆ ได้มากกว่าการนั่งทำงานอยู่คนเดียว (แม้บ้างครั้งมันจะเป็นแค่ข้ออ้างในการหาอร่อย ๆ กินหรือหาเรื่องสนุก ๆ ทำก็เถอะ)

Photo by lucas Favre on Unsplash

การฝึกให้ทีมงานมีวินัย

คุณมาสายเพราะคุณตื่นเช้าไม่เป็น หรือเพราะคุณทำงานได้ productive กว่าเมื่อมาสาย?

ว่าง่าย ๆ คือ คำว่าตื่นสายของคุณ เป็นข้ออ้าง หรือ เหตุผล

ผมชอบให้สิ่งที่คุณทำ เป็นสิ่งที่คุณเลือกที่จะทำ ไม่ใช่เพราะคุณทำไม่ได้

โดยเฉพาะกับน้องที่พึ่งเรียนจบ — ในฐานะรุ่นพี่ ผมมีความรู้สึกว่า น้องที่จบใหม่ ควรถูกฝึกวินัยให้มาทำงานตรงเวลาเป็น

ถ้าพิสูจน์ว่าทำงานตรงเวลาเป็นแล้ว หลังจากนั้นจะมาไม่ตรงเวลาก็ได้

มิเช่นนั้น หลังจากคุณขาดวินัยไปสัก 4–5 เดือน คุณจะกลับมามีวินัยอีกได้ยาก

และวินัย ยังคงเป็นสิ่งจำเป็นในการที่จะก้าวหน้า ไม่ว่าจะเรื่องใด ๆ ก็ตาม

2–3 ปีที่ผ่านมา น้องที่จบใหม่เริ่มมีคำถามในแนวว่า บริษัทของเรามีเวลาเข้าออกยืดหยุ่นหรือไม่

ผมอยากบอกว่า นั่นควรเป็นสิ่งท้าย ๆ ที่คุณควรคำนึงถึง ถ้าคุณอยากเก่งขึ้น

สถานะอภิสิทธิชน

ถ้า Developer/Designer ได้สิทธิเข้างานกี่โมงก็ได้ แล้วคนอื่นได้สิทธินี้ด้วยหรือไม่?

หากบริษัททำธุรกิจ B2B หรือ B2C ที่ต้องมีเวลา support ลูกค้า เราก็จำเป็นต้องมีคนทำงานบางกลุ่มที่มีเวลาเข้างานที่ชัดเจน และตรงต่อเวลา

นั่นทำให้คนที่ได้สิทธิเข้างานแบบยืดหยุ่น เป็นอภิสิทธิชนหรือไม่?

เรื่องนี้ ไม่ได้แก้ปัญหาที่ฝั่งคนได้สิทธิ แต่ต้องสื่อสารให้คนทั้งองค์กรเข้าใจด้วย ว่าทำไมบางคน flexible ได้ แต่บางคนไม่ได้

อย่างไรก็ดี ผมชอบให้คนที่ได้สิทธิ มีความเข้าใจ เห็นใจคนที่ไม่ได้สิทธิ

แล้วข้อสรุปคืออะไร?

ผมเชื่อว่าคนที่ทำงาน creative ควรได้สิทธิในการเลือกทำงานในเวลาที่มีประสิทธิภาพสูงสุด — แต่ไม่ควรใช้สิทธินั้นตลอดเวลา

และก่อนจะได้รับสิทธิ คนที่ได้รับสิทธิควรตระหนักถึงเหตุผลข้างต้นด้วย

  • ความรับผิดชอบต่อทีม
  • คำนึงถึง Team Dynamics
  • คำนึงถึงการมีส่วนร่วมในทีม ทั้งในด้านงานและการอยู่ร่วมกัน
  • ระวังที่จะไม่ abuse อภิสิทธิของตน

เหมือนที่ร่างกายมนุษย์เป็นที่รวมตัวของสิ่งมีชีวิตย่อย ๆ จำนวนมาก — องค์กร ธุรกิจ และทีมก็ประกอบจากทุกคนในทีม

เราไม่ควรคำนึงถึงข้อดีของ flexible working hour ที่มีแต่กับตัวเราเอง แต่เราควรคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อประสิทธิภาพของทีมโดยรวมด้วย

Flexible working hour ในแบบของ Cleverse

ผมไม่อยากโฆษณาว่า Cleverse มีเวลาทำงานที่ flexible — ส่วนหนึ่งเพราะว่า ผมไม่อยากเห็นว่าการมาทำงานกี่โมงก็ได้ กลายเป็นเหตุผลที่คนเลือกมาทำงานกับเรา

ถ้าเหตุผลในการเลือกงานของคุณ คือ อยากทำงานตามใจเมื่อไรก็ได้ — อย่ามาทำงานกับเราเลย

Flexible working hour ในสไตล์ของเรา คือ ข้อตกลงภายในแต่ละทีม ว่าจะมาทำงานกันกี่โมง — แต่ละทีมกำหนดเวลาแตกต่างกันได้

เมื่อทีมตกลงเวลา คุณจะมาก่อนเวลาก็ได้ — ขอแค่ว่า เมื่อถึงเวลาที่ตกลง เราคาดหวังได้ว่าคุณจะอยู่ให้ทีมคุยได้

ในเรื่องเวลาทำงานนี้ ผมงดออกเสียง

สำหรับข้อตกลง version ล่าสุด — กลายเป็นว่าน้องจำนวนหนึ่งอยากกำหนดเวลามาทำงานให้เช้าขึ้นกันเอง ด้วยเหตุผลต่าง ๆ เช่น รู้สึกว่าตัวเองขาดวินัย รู้สึกว่าการตื่นเช้าเหมือนมีเวลาทำอย่างอื่นมากขึ้น เป็นต้น

อย่างไรก็ดี เรายังคงเหลือวันที่ flexible จริง ๆ จะเข้ากี่โมงก็ได้ไว้สำหรับคนที่บางทีทำงานติดพัน บางทีทำงานดึก บางทีอยากได้เวลาทำงาน private — ซึ่ง ณ ขณะนี้ คือ วันอังคารกับพฤหัสบดี — และเราให้ work at home ได้ 20% หลังจากผ่านช่วงปรับตัว

นอกจากนี้ ถ้าคุณมาทำส่วนที่ต้อง commit กับทีม (เช่น ประชุม นัดกับลูกค้า) เรียบร้อยแล้ว รู้สึกไม่ productive คุณจะเปลี่ยนโหมดก็ไม่มีใครว่า — บางคนนอนไม่พอก็ขอลาไปนอนกันตรง ๆ เลยก็ได้

และเราได้ทำการทดลองโดยไม่จำกัดวันลาพักร้อนต่อปีมาสักพักแล้ว — ผลที่ได้ค่อนข้างดี คือ ทุกคนลาโดยมีความเกรงใจต่อเพื่อนร่วมทีมและรับผิดชอบต่องานที่ทำ เช่น น้องบางคนลาไปเที่ยวต่างประเทศ 20 วัน แต่ก็ขน Notebook ไปและมีการ remote มาแก้ปัญหาให้ด้วย

… นี่จะไม่ใช่ข้อกำหนดสุดท้ายของเรา …

เหมือนที่ “Continuous Development” คือ ธรรมชาติของการพัฒนา product — กติกาของเราก็จะต้องถูกปรับเปลี่ยนอย่างต่อเนื่องตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป

นี่คือ “flexible working hour” ในความหมายของ Cleverse

สิ่งที่เราใส่ใจ คือ ทำให้ทุกคนตระหนักว่า เรากำหนดวิธีการทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ให้ความสำคัญกับเพื่อนร่วมทีม และให้ความสำคัญกับการเจริญเติบโตของตัวเราเอง

ถ้าคำนึงถึงข้อเหล่านี้ จะกำหนดเวลาอย่างไรก็ได้


You can connect with me via Facebook & Twitter

Kittichai
All-rounder
Kittichai Jirasukhanon worked at Cleverse, a venture builder, with people who have fun building the future. If you also consider building the future a fun and meaningful purpose — let’s find a way we can work together.
Next Article
ออกแบบปก Presentation ให้ ปัง ปัง ปัง
สมัครงาน